หนองบัวลำภู – กะตุ่ย ทอผ้าฝ้ายบ้านโปงแค คว้ารางวัลสุดยอด 1 ใน 3 “แพรพรรณลุ่มภู สู่สากล 2024”

กะตุ่ย ทอผ้าฝ้ายบ้านโปงแค สุดยอด 1 ใน 3 “แพรพรรณลุ่มภู สู่สากล 2024” ภายหลังพ่อเมืองลุ่มภูเปิดงานสักการะศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และงาน “แพรพรรณลุ่มภู สู่สากล 2024” ชม! ช้อป! ชิม! ผลิตภัณฑ์ชุมชนจากจังหวัดหนองบัวลำภู วันเดียวทะลุล้าน จากวันนี้ถึง 27 มกราคม 2567 สนามสมเด็จพระนเรศวร อำเภอเมืองหนองบัวลำภู

กลุ่มทอผ้าฝ้ายกะตุ่ยบ้านโป่งแค ตำบลด่านช้าง อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู เกิดจากแนวคิดของผู้ใหญ่บ้าน (นางฐิตติยาภรณ์ เพลินจิตต์) และสมาชิกต้องการหาอาชีพเสริม เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นอันทรงคุณค่าที่สืบทอดต่อกันมา และได้ไปศึกษาดูงานการผลิตและทอผ้าฝ้ายจังหวัดเลย ซึ่งมีชื่อเสียงการปลูกและทอผ้าฝ้ายสีธรรมชาติ

หลังจากการศึกษาดูงาน จึงเกิดการรวมกลุ่มสมาชิก โดยรวมหุ้นจากสมาชิกเพื่อเป็นทุนในการจัดหาวัสดุ/อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้กลุ่มได้ลงทะเบียน OTOP กับกรมการพัฒนาชุมชน ภายใต้ชื่อ “กลุ่มทอผ้าฝ้ายบ้านโป่งแค” โดยกิจกรรมของกลุ่มจะมีทั้งการปลูก การทอผ้า และการแปรรูป ซึ่งผลิตภัณฑ์ของกลุ่มทั้งหมดจะเป็นผ้าฝ้ายธรรมชาติ (ฝ้ายเข็นมือ)

หลังจากการจัดตั้งกลุ่ม กลุ่มได้รับการฝึกอบรมในด้านต่างๆ ทั้งการผลิต การแปรรูป การตลาดจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้กลุ่มเป็นที่รู้จักและมีคำสั่งซื้อมากขึ้น ทำให้วัสดุอุปกรณ์ที่มีไม่เพียงพอกับการผลิตสินค้าให้กับลูกค้า กลุ่มจึงมีความจำเป็นต้องใช้เงินทุนเพิ่มเติม จึงได้ยื่นเสนอขอรับงบประมาณจากกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี จังหวัดหนองบัวลำภู และได้รับการสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียน ร่วม 2 แสนบาท ซึ่งกลุ่มได้ใช้เงินทุนดังกล่าวตามวัตถุประสงค์ และใช้คืนเงินกู้ตามระยะเวลาที่กำหนด

ปัจจุบัน “กลุ่มทอผ้าฝ้ายบ้านโป่งแค” เน้นการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์โดยการแปรรูป ขยายตลาดสู่ระบบออนไลน์ และตลาดออฟไลน์ ไม่ว่าจะเป็นเข้าร่วมการจัดแสดงและจำหน่ายสินค้าในระดับจังหวัด งานแพรพรรณลุ่มภูสู่สากล งานระดับประเทศ OTOP Mid Year ของกรมการพัฒนาชุมชน เป็นต้น รายได้เฉลี่ยของกลุ่ม จำนวน 599,400 บาท ต่อปี (เฉลี่ยของสมาชิก 22,200 บาทต่อปี) ทั้งนี้ แม้กลุ่มจะมีการพัฒนาและขยายตัวเพียงใด กลุ่มยังคงยึดมั่นในแนวทางการผลิตสินค้าที่เป็นผ้าฝ้ายธรรมชาติ มุ่งมั่นที่จะสืบสานภูมิปัญญาควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม

และเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2566 นายสุวิทย์ จันทร์หวร ผวจ.หนองบัวลำภู เปิดตัววิชชาลัยผเทอหนองบัวลำภู แห่งที่ 3 ซึ่งวิชชาลัยผ้าทอหนองบัวลำภู(ขวัญตา) เป็นวิชชาลัยแห่งที่ 1 และวิชชาลัยทอผ้าหนองบัวลำภู(เทวาผ้าไทย) เป็นวิชชาลัยแห่งที่ 2 ซึ่งกลุ่มทอผ้าฝ้าบกะตุ่ยโป่งแค เป็นกลุ่มทอผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติบ้านโป่งแค ซึ่งจุดเด่นของกลุ่มที่น่าสนใจคือเส้นใยฝ้ายจากธรรมชาติ ซึ่งเป็นอัตลักษณ์ที่หายากในปัจจุบัน และกลุ่มเองได้รับการพัฒนาศักยภาพในการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า รวมไปถึงสามารถที่จะเชื่อมโยงวิถีชีวิต การเกษตรและวัฒนธรรมเพื่อก่อให้เกิดรายได้แก่ชาวบ้านในชุมชนได้ ภาคราชการทุกหน่วยงานของจังหวัดหนองบัวลำภูพร้อมที่จะสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของกลุ่มเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

โดยเมื่อวันที่ 18 มกราคม ที่ผ่านมา นายสุวิทย์ จันทร์หวร(จัน-หะ-วอน) ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภู เป็นประธานในพิธีเปิดงานสักการะสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ประจำปี พ.ศ.2567 และ งานแพรพรรณลุ่มภูสู่สากล 2024 ภายใต้โครงการส่งเสริมและสร้างเครือข่ายเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการและสถาบันทางด้านการเกษตรให้มีความเข้มแข็ง “งานแพรพรรณลุ่มภู สู่สากล 2024” ระดับจังหวัด โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ ผู้แทนหน่วยงานเอกชน สื่อมวลชน และประชาชนร่วมเป็นเกียรติในงานอย่างคับคั่ง
นายสุวิทย์ จันทร์หวร(จัน-หะ-วอน) ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภู กล่าวว่า จังหวัดหนองบัวลำภูได้วางเป้าหมายในการพัฒนาจังหวัด “เกษตรเพิ่มมูลค่า เมืองผ้า น่าอยู่ น่าเที่ยว” โดยมุ่งพัฒนาจังหวัดหนองบัวลำภูให้เป็นเมืองเกษตรผสมผสาน และเป็นศูนย์กลางเมืองผ้าโดยพัฒนากระบวนการผลิตผ้าตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ผ้าทอพื้นเมืองจังหวัดหนองบัวลำภู มีลวดลายที่มีความงดงาม เป็นอัตลักษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่โดดเด่น ที่สร้างสรรค์ขึ้นจากความภาคภูมิใจ ภูมิปัญญาของท้องถิ่นและศิลปวัฒนธรรม สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจก่อให้เกิดรายได้และยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องชาวหนองบัวลำภูให้ดียิ่งขึ้น

สุภัชรกานต์ แก้วสิงห์ ภาพและข่าว เพ็ญนภา ทับซ้ายขวา รายงานจากจังหวัดหนองบัวลำภู