India’s COVID Diplomacy นโยบายการทูตโควิดของอินเดียประเทศแห่งความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีการแพทย์ “มหาอำนาจ” ที่ให้ความสำคัญกับมนุษยชาติ

ดร.ปิยณัฐ สร้อยคำ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กล่าวว่าโควิดเป็นโรคอุบัติใหม่ที่นานาประเทศต่างเผชิญวิกฤต อินเดียในฐานะประเทศที่มีพลเมืองมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก ก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงเหตุการณ์นี้ได้เช่นกัน ด้วยพลเมืองกว่า 1,300,000 ล้านคน จึงมิใช่เรื่องง่ายที่อินเดียจะรับมือต่อภัยความมั่นคงใหม่ (Non-Traditional Security) และเป็นเรื่องยากต่ออินเดียเหลือเกินที่จะแก้ไขสถานการณ์เพราะเป็นดินแดนที่มีความคิดความเชื่อทางศาสนา รวมไปถึงค่านิยมทางวัฒนธรรมหลายประการที่บางครั้งอาจสวนทางกับหลักการทางวิทยาศาสตร์และการสาธารณสุข
ในห้วงแห่งการระบาดหนัก ยอดผู้ติดเชื้อของอินเดียพุ่งสูง จนทะยานไปสู่ประเทศลำดับที่ 2 ของโลกที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุดในปัจจุบัน 10.6 ล้านคน สิ่งที่อินเดียทำได้คือประคับประคองระบบสาธารณสุขให้อยู่ได้ รักษาผู้ติดเชื้อกว่า 10.3 ล้านคนจนหายดี หาวิธีเพื่อลดอัตราการเสียชีวิตให้ได้มากที่สุด และพยายามสร้างความเข้าใจกับประชากรในประเทศ แต่แนวทางดังกล่าวเป็นเพียงแค่การแก้ไขสถานการณ์ชั่วขณะเท่านั้น
ด้วยเหตุนี้ นเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีของอินเดีย พร้อมด้วยทีมนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันวิจัยของประเทศ อาทิ Serum Institute of India ซี่งอินเดียถือเป็นชาติชั้นนำของโลกที่สามารถผลิตยา วัคซีน ได้คุณภาพในราคาที่เข้าถึงได้ ต่างระดมความคิดจนนำมาสู่การผลิตวัคซีคในชื่อ COVIDSHIELD ซี่งมีราคาเพียงโดสละ 210 รูปี หรือประมาณ 87 บาทเท่านั้น และสามารถเก็บได้ที่อุณภูมิ 2-8 องศา เทียบเท่ากับอุณหภูมิของตู้เย็นภายในบ้าน จึงทำให้การขนย้ายและการจัดส่งสะดวกกว่าวัคซีคที่ผลิตโดยบริษัทอื่น
ภายหลังดำเนินการทดลองสำเร็จ การฉีดวัคซีนให้กับบุคลากรทางกายแพทย์และประชาชนได้เกิดขึ้นภายในประเทศ ซี่งจากการศึกษาเชิงคลินิกในระดับนานาชาติ (International clinical trials of the Oxford-AstraZeneca vaccine) ได้ระบุว่าวัคซีนดังกล่าวมีประสิทธิภาพถึงร้อยละ 90 กระบวนการดังกล่าวจะยังคงเดินหน้าต่อไปเพื่อฉีดวัคซีนให้ครบ 300 ล้านคน ตามที่รัฐบาลได้ประกาศไว้
ดร.ปิยณัฐ สร้อยคำ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากความสำเร็จภายในประเทศ อินเดียไม่รอช้าที่จะส่งวัคซีน COVIDSHIELDในฐานะเครื่องมือทางการทูต หรือนโยบายการทูตโควิด (COVID Diplomacy) แก่ประเทศกำลังพัฒนาหลายชาติ เช่น Bhutan, Maldives, Bangladesh, Nepal, Myanmar, Seychelles, Sri Lanka, Afghanistan, Mauritius, Morroco รวมไปถึง Brazil ซี่งปัจจุบันรัฐบาลเมียนมาร์ได้รับวัคซีนจากอินเดียกว่า 1.5 ล้านโดสเป็นที่เรียบร้อย
เนื่องจากโควิด-19 เป็นภัยความมั่นคงมนุษย์ในระดับโลกที่หลายประเทศต่างเผชิญปัญหา และยังคงแสวงหาทางออกในการจัดการ การที่อินเดียได้นำความสำเร็จของตนดังกล่าวแบ่งปันไปสู่ประเทศที่ต้องการความช่วยเหลือในรูปของวัคซีนแห่งไมตรี (Vaccine Maitri) การกระทำดังกล่าวย่อมสร้างสัมพันธไมตรีระหว่างอินเดียกับประเทศเหล่านั้นให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้นถือเป็นการใช้อำนาจละมุน หรือ Soft Power อีกทางหนึ่งนอกจากนี้ COVID Diplomacy ยังช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ของอินเดียในฐานะประเทศแห่งความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีการแพทย์ รวมไปถึงการวางตนเองในฐานะ “มหาอำนาจ” ที่ให้ความสำคัญกับมนุษยชาติและให้ของขวัญ “Gift” ดังกล่าวแก่มิตรประเทศ