โรงสีศรีแสงดาว โรงสีต้นแบบการทำนาข้าว 9 ขีด/ไร่ จับมือ นักวิจัยอาวุโส ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดโครงการอบรมชี้แนวทาง การจัดการธาตุอาหาร การใช้ปุ๋ย และการใช้เมล็ดพันธุ์ เพื่อถ่ายทอด การจัดการแปลงนาข้าว และ เทคโนโลยี การปลูกข้าว ด้วยการใช้เมล็ดพันธุ์เพียง 9 ขีด ที่ประหยัด จะได้ผลผลิตสูง ให้กับชาวนา 200 คน ในเขตอำเภอสุวรรณภูมิและเกษตรวิสัยบางส่วน ได้รับรู้แนวทาง การทำนาแบบประหยัด ต้นทุนทุกด้าน แต่ได้ผลผลิตสูง และอีกเป้าหมายสำคัญคือ ต้องการที่จะช่วยชาวนาพัฒนาคุณภาพข้าวหอมมะลิ ให้คงคุณค่าเพื่อต่อสู้กับประเทศเพื่อนบ้าน ที่กำลังพัฒนาข้าวหอมพรวงมาเทียบเคียงตีตลาดข้าวหอมมะลิไทย
นายสินสมุทร ศรีแสนปาง ผู้จัดการโรงสีศรีแสงดาวจำกัดอำเภอสุวรรณภูมิ ร่วมกับ รองศาสตราจารย์ดร.สุมิตรา ภู่วโรดม นักวิจัยอาวุโส ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดประชุม ถ่ายทอด ความรู้และเทคโนโลยีด้านการทำนาข้าว แบบประหยัด ได้ผลผลิตดี ให้กับชาวนา ในพื้นที่2อำเภอ ในเขตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ คืออำเภอสุวรรณภูมิ อำเภอเกษตรวิสัย ชื่อโครงการ อบรมเกษตรกรในการจัดหาธาตุอาหาร และการใช้ปุ๋ยในนาข้าว ตามรูปแบบการทำนา แบบประหยัด ขายเมล็ดพันธุ์ข้าว เพียง 9 ขีด เพื่อประหยัดเมล็ดพันธุ์รวมทั้งเป็นการประหยัด การให้ปุ๋ย ในแนวทางที่ถูกต้องเหมาะสม โดยจัดขึ้นที่ห้องประชุม โรงสีศรีแสงดาว อำเภอสุวรรณภูมิ ก่อนที่จะนำเกษตรกร ทั้งหมด ร่วมเยี่ยมชมแปลงปลูกข้าว แปลงนา 9 ขีด เส้นคิดค้นและใช้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมการปลูกข้าว ซึ่งโรงสีศรีแสงดาว เป็นผู้คิดค้น ต้นแบบ ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จนประสบผลสำเร็จ จึงเกิดแนวคิดแก้ถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าว ไป ชาวนา ให้สามารถนำแนวทาง ดังกล่าวไปใช้ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อชาวนา จะได้นำไปใช้ ด้านการแก้ไขปัญหา ลดต้นทุนการผลิต แต่ได้ผลผลิตสูง ดังเช่น โรงสีศรีแสงดาวสามารถ ผลสำเร็จมาแล้ว และเปิดโอกาสให้เกษตรกรได้มาศึกษาแนวทางต้นแบบ ให้นำไปใช้ได้ผลประโยชน์จริง โดยไม่มีข้อผูกมัดและพันธะสัญญาใดๆระหว่างชาวนากะโรงสี
โดยนายสินสมุทร ศรีแสนปาง เจ้าของโรงสีศรีแสงดาวที่เป็นคนต้นคิดทำนาใช้เมล็ดพันธุ์9ขีด(ต่อไร่) กล่าวว่า หลังจากตนเองทำสำเร็จในนาข้าวของตนเองเพื่อป้อนโรงสีของตนเองสำเร็จ ก็อยากจะแบ่งปันความรู้แนวทางการทำนา ที่ลงทุนน้อยได้ผลผลิตสูงให้กับชาวนา เช่นการทำนาใช้เมล็ดพันธุ์ 9 ขีดต่อไร่ โดยต้นๆไม่จำเป็นต้องใช้พันธุ์ข้าว 9 ขีดแบบตนทำ แต่เพียงอยาก จะสื่อถึงชาวนาว่า มีแนวทางการทำนา 9 ขีดได้แต่มันยาก เพราะเมล็ดพันธุ์ต้องสมบูรณ์ ดารเตรียมดิน องค์ประกอบอื่นๆต้องครบถ้วนทุกด้าน ในลักษณะของการทำนาข้าวนาหยอด ซึ่งการเริ่มต้นแนะนำให้ใช้ 5-6 กก.จนเกิดความชำนาญแล้วค่อยๆถอยลงมาจนเหลือ 9 ขีดแบบตนเองได้ ก็จะเกิดการประหยัดเมล็ดพันธุ์ได้
ตอนต้นที่คิดเพราะตนเองมีโรงสีต้องซื้อข้าวจากชาวนา ถ้าชาวนาไม่มีข้าวขายตนเองก็เกิดผลกระทบ หากชาวนาไม่มีผลผลิตการทำนาสำเร็จโรงสีก็จะอยู่ยากขึ้น จึงคิดทดลองทำนารูปแบบนี้ขึ้นจนประสบผลสำเร็จจึงอยากจะถ่ายทอดไปสู่ชาวนาให้เข้าในแล้วค่อยไปรับเปลี่ยนมาจากนาหว่านกำหนดปริมาณพันธุ์ข้าวไม่ได้ กำหนดระยะห่างกอข้าวไม่ได้ ให้หันมาใช้วิธีนี้ทีดีกว่า ค่อยๆก้าวไปสู่การทำนา9ขีดแบบตนเองทำสำเร็จมาแล้ว ให้เป็นวิทยาการก้าวหน้าเพื่อชาวนา
ยืนยันว่า ทุกอย่างตนไม่ได้คิดเพื่อตนเอง แต่ตนเองมองไปถึงที่ทุกวันนี้การแข่งขันขนาดข้าวสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแข่งขันตลาดข้าวระหว่างประเทศสูงหลายประเทศพยายามพัฒนาเพื่อที่จะแย่งและตีตลาดข้าวหอมมะลิที่ถูกอิจฉา ด้วยการพยายามพัฒนา เช่นเวียดนามก็พยายามพัฒนา “ข้าวหอมพรวง”ของประเทศเขา ที่มีความหอมและความนุ่ม ใกล้เคียงกับข้าวหอมมะลิ เพื่อมาตีตลาดไทย ซึ่งมองว่า หากไม่มีการส่งเสริมให้กับชาวนาด้านการลดต้นทุน และเพิ่มผลผลิตต่อไร่ของเกษตรกร เราก็จะไม่สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ และเมื่อเกษตรทำนามีรายได้น้อยลง การทำนาก็จะค่อยๆหายไป ซึ่งก็จะเกิดความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ ในมุมมองของตนเอง จึงคิดที่จะเข้ามาพัฒนา แนวทางการผลิต ให้กับชาวนา มากกว่าที่จะได้ประโยชน์ส่วนตัว
ยืนยันว่า อยากช่วยตามกำลังที่ตนมี กาจัดเสวนาแนวทางใหม่อยู่ที่ความสมัคร ของเกษตรกรที่มีความพร้อมที่จะทำตามแนวทางของตน และพร้อมที่จะดูแล เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าสามารถเปลี่ยนแปลงได้ และจะดูแลเกษตรกรกลุ่มแรกๆนี้ให้เต็มที่ เพื่อให้กลุ่มเกษตรเกือบ 200 คน เป็นแม่ทัพที่เป็นตัวอย่างให้เกษตรกรอื่นๆทำตามกันเองได้มากขึ้นแบบขยายไปเรื่อยๆ
โดยเป้าหมายคือ อยากเปลี่ยนแปลงการทำนาหว่าน 35 กก./ไร่ โดยให้เริ่มเปลี่ยนแปลงมาเป็นนาหยอดเริ่มต้นจาก 5 กก./ไร่ ด้วยการทำให้ฟรี ก็ยังไม่มีใครทำตาม เพราะเขาใช้เมล็ดพันธุ์ 35 กก./ไร่ ก็ยังไม่ได้ผล จึงต้องทำให้ฟรี จนเขาเห็นว่าทำสำเร็จ จึงยอมมีคนมาเข้าร่วมโครงการ และชี้ให้เห็น และสามารถจะบอกชาวนาให้เชื่อว่า การทำนา ที่ถูกต้องทำได้ ถึงแม้ ธรรมชาติ ไม่สามารถกำหนดได้ แม้จะไม่สามารถ เรื่องฝนได้ แต่ถ้าเรามีความรู้ หาความรู้ด้านขั้นตอนต่างๆมาแก้ปัญหาก็ สามารถที่จะต่อสู้กับธรรมชาติได้ดังเช่นตนเองทำสำเร็จมาแล้ว
โดยแนวทางที่แนะนำชาวนาคือใช้เครื่องจักรทีทำงานได้เยอะ วางแผนให้จบครบถ้วนตั้งแต่การเตรียมดิน ที่ทำงานเชิงป้องกันวัชพืชตั้งแต่ต้น ที่วัชพืชน้อยลง และเห็นความแตกต่าง ที่เดิมการใช้ต้นทุนการทำนาข้าวหอมมะลิไร่ละ3_4000 บาท ได้ผลผลิต 320 ถัง/ไร่ และได้กำไรไร่ละ1000 บาทเศษ แต่แนวทางของตนเองลงทุน 3200บาท/ไร่ แต่เมื่อเทียบรายได้เป็นผลกำไรมากขึ้นเป็น 5000 บาท/ไร่ ซึ่งทุกอย่างอยู่ที่ความเข้าใจในการทำเข้ามาใช้ ซึ่งทุกคนที่ผ่านการอบรมจะเกิดความเข้าใจแล้วนำไปใช้ โดยมีโรงสีเป็นที่ปรึกษาโดยไม่บังคับว่าจะต้องขายข้าวให้โรงสีเราแต่จะให้ขายที่ไหนก็ได้
ทางด้าน รองศาสตราจารย์ Doctor สุมิตรา ภู่วโรดม นักวิจัยอาวุโส ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า แนวทางแรกทางวิชาการที่ให้ชาวนาคือ
1 ต้องเลิกยึดความเชื่อเก่าๆต้องพัฒนาดิน ต้องเลิกเผาฟาง เอาการไถกลบฟางมาใช้ก่อน
2 หยอดเพื่อประหยัดพันธุ์ข้าวลง พันธุ์ข้าว กก.ละ กว่า 20 บาท หากเคยหว่าน 35 กก.มาใช้หยอด 9 ขีด ก็ จะประหยัดตั้งแต่ยังไม่เริ่มทำนา ได้กำไรแล้ว 500 บาท สามารถที่จะนำเงินไปซื้อปุ๋ย และธาตุอาหารเพิ่ม เพื่อช่วยเพิ่มผลผลิตข้าวให้ดีขึ้น
โดยในการทดลองปีที่แล้วเข้าร่วมโครงการสามารถมีผลผลิตได้ไร่ละ ถึง 500 ถัง เมื่อเทียบกับส่วนที่ทำแบบเดิมๆ กลับได้เพียง 300 ถังเศษเท่านั้น โดยภาพรวมถึงแม้จะต้นทุนอาจจะไม่ถูก จนแตกต่างมากนัก แต่ก็มีความแตกต่างด้านการประหยัดเมล็ดพันธุ์ เอาไปใช้อย่างอื่นเช่นการซื้อปุ๋ยการซื้อจุลธาตุมาใช้ให้ได้ผลผลิตเพิ่ม สรุปง่ายคือเป็นแนวทางที่ต้นทุนไม่ลดลงลงแต่ผลผลิตเพิ่ม ซึ่งกำไรมากขึ้น เข่นแปลงตัวอย่างที่พาเกษตรกรมาดู หวังว่าจะได้ผลิตแค่ 600 ถัง แต่กลับได้ถึง 800 ถัง ถือว่ามีผลผลิตสูง มากกว่า คล้ายการทำนาเพียง 2 ปี แต่กำไรเท่า 3 ปี ของการทำนาแบบเดิมๆของชาวนา เหตุที่ส่งเสริมเพราะเห็นว่าชาวนาอีสานผลผลิตต่ำเพราะขาดธาตุอาการที่ต้องตรงกับความต้องการตามสภาพของดินที่ต้องมีการศึกษาวิจัยให้ได้รับธาตุอาหารที่ตรงกันด้วย ดังนั้นการที่ชาวนาเข้าน่วมอบรมตามโครงการนี้จะต้องได้รับการวิจัยดินเพื่อให้ได้รับวัตถุธาตุอาหารที่ตรงกับความต้องการของข้าวด้วย จึงจะเพิ่มผลิตได้ ซึ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางศูนย์ ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เอง มีสูตรปุ๋ยที่วิจัยแล้วว่ามีความเหมาะสมกับข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้มาแนะนำให้กับเกษตรกรเพื่อเพิ่มผลผลิตได้โดยตรงเข้ามาเสริมให้ชาวนาที่ร่วมศึกษาโครงการได้ใช้สอยให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วย