ขอนแก่น(ชมคลิป)รมช.เกษตรฯ kick off ยกระดับนาแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่

เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 29 กันยายน 2564 ที่สนามหน้าที่ว่าการอำเภอแวงน้อย จ.ขอนแก่น นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดงานส่งเสริมประชาสัมพันธ์การใช้เทโนโลยีการผลิตข้าวคุณภาพ ภายใต้โครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด โดยมีนายสุเทพ มณีโชต รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น พร้อมด้วยนายอำเภอแวงน้อยและเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เกษตรกรที่เข้าร่วมโคงการจำนวน 300 คน มาร่วมงาน และมารับมอบเครื่องจักรกล รับมอบเงินอุดหนุน
นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินโครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด ตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจ ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต พัฒนาศักยภาพการผลิตเน้นการผลิตในรูปแบบเกษตรแบบสมัยใหม่ เกษตรอัจฉริยะ เกษตรแม่นยำที่มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ มีการสร้างความร่วมมือการบริหารจัดการที่เชื่อมโยงตลาดศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวขอนแก่น ได้รับมอบหมายจากกรมการข้าวให้ดำเนินงานโครงการยกระดับแปลงใหญ่ ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาดจำนวน 208 แปลงและโครงการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตข้าวอินทรีย์ ทั้งสิ้น 286 กลุ่ม ครอบคลุมทั้ง 26อำเภอในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น โดยการจัดงานส่งเสริมและประชาสัมพันธ์การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวคุณภาพครั้งนี้ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกษตรกรและผู้เข้าร่วมงานได้ราบถึง เทคโนโลยี นวัตกรรม ในการยกระดับการผลิตข้าวคุณภาพ และเป็นตัวอย่างในการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับชุดเทคโนโลยีการผลิตข้าวคุณภาพ เผยแพร่ผลการดำเนินงานโครงการและกิจกรรมต่างๆของศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวขอนแก่น ให้ชาวนา
โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ เป็นการดำเนินงานซึ่งเน้นการรวมกลุ่มของเกษตรกรรายย่อยที่อยู่บริเวณพื้นที่ใกล้เคียงกัน ที่พร้อมจะพัฒนาการผลิตและการตลาดร่วมกันตลอดห่วงโซ่อุปทาน โดยวางระบบการผลิตและการบริหารจัดการในแนวทางเดียวกัน เพื่อประหยัดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยเน้นการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ตามนโยบายการตลาดนำการผลิต นำไปสู่การจัดการสินค้าเกษตรสู่สมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน สร้างเสถียรภาพของราคาสินค้าเกษตรได้อย่างมั่นคงในอนาคต ตามแผนปฏิรูปการเกษตรโดยเกษตรกรยังคงเป็นเจ้าของพื้นที่และร่วมกันดำเนินการบริหารจัดการการผลิต
นายประภัตร กล่าวว่า ที่ผ่านมาประเทศไทย เคยเป็นผู้นำอันดับ1 ในการผลิตข้าวมะลิ ส่งขายต่างประเทศ แต่ในขณะนี้ไทยตกไปอยู่อันดับที่ 4 จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการปรับปรุง จึงมอบหมายให้ กรมการข้าว โดยศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว เข้ามาดูแล โดยที่ผ่านมานั้น เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวชาวนาจะเก็บพันธุ์ข้าวเอาไว้ไปเพาะปลูกในปีหน้า แต่ในปัจจุบันนั้นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยโดยศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว เข้ามาดูแล จะเข้ามาดูแลในเรื่องเมล็ดพันธ์ข้าว โดยให้ชาวนานำเมล็ดพันธุ์ข้าวของตัวเอง มาและเปลี่ยนโดยกำหนดการแลกเปลี่ยนโดยจะมอบเมล็ดพันธ์ข้าวที่ดี ในอัตราที่นา 1 ไร่ รับพันธุ์ข้าว 15 กิโลกรัม ซึ่งเชื่อว่าถ้าเกษตรกรมีเมล็ดพันธุ์ข้าวดีดีนำไปเพาะปลูก ก็จะมีข้าวหอม ข้าวนิ่มกินและขาย ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้
นายประภัตร โพธสุธน ยังกล่าวถึงโครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด ว่า ต้องการกระตุ้นให้เกษตรกรและผู้เข้าร่วมงานเห็นเทคโนโลยีนวัตกรรมในการยกระดับการผลิตข้าวคุณภาพ และเป็นตัวอย่างในการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับชุดเทคโนโลยีการผลิตข้าวคุณภาพโดยมีการเผยแพร่ผลงานดำเนินโครงการและกิจกรรมต่างๆของศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวขอนแก่นให้ชาวนาได้รับรู้ นอกจากนี้ยังมีการมอบ เงินอุดหนุนโครงการ ส่งเสริมและพัฒนาการผลิตข้าวอินทรีย์ให้เกษตรกร 50 ราย มอบปัจจัยการผลิตโครงการยกระดับแปลงใหญ่ ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด และที่สำคัญมีการมอบเครื่องจักรกลในการทำเกษตรแปลงใหญ่พร้อมกับวางแนวทาง ให้เกษตรกรนำเอาข้าวปลูกเก่าที่มีอยู่มาแลกข้าวปลูกพันธุ์ใหม่จากกรมการข้าวในฤดูกาลหน้า และมอบเครื่องจักรให้กับนาแปลงใหญ่ทั้งหมด 14 โครงการ ซึ่งเป็นที่พอใจของเกษตรกรที่จะได้ปรับปรุงการทำนาของตัวเองใหม่โดยมีการใช้โดรนใช้เครื่องปักดำคาดว่าจะเป็นการลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตให้ได้อย่างแน่นอน ซึ่งกรมการข้าวเป็นเจ้าของโครงการ ที่จะผลิตเมล็ดพันธุ์โดยแลกเอาของเก่าที่ใช้อยู่ เอามาแลกเอาข้าวใหม่ไปโดยกรมการข้าวเป็นผู้ผลิตให้ โดยคำนึงถึงผลผลิตข้าวดีและต้านทานต่อโรคได้ พร้อมจะผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิในปีนี้และแลกกับข้าวของเกษตรกรในฤดูกาลหน้า เริ่มต้นที่ 500,000 ถึง 1,000,000 ไร่ เพื่อให้เกษตรกรได้ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ดีและผลผลิตลดต้นทุนได้อย่างแน่นอน นอกจากได้มอบเครื่องจักรเครื่องมือให้กับกลุ่มนาข้าว ทั้งกลุ่มผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวและกลุ่มนาแปลงใหญ่ โดยคิดเป็นจำนวนกลุ่มมากกว่า 20 กลุ่มกงและยังมีแปลงย่อยอีก ดังนั้นในอำเภอแวงน้อยมีประมาณ 120,000 ไร่ จะมีการปรับปรุง 120,000 ไร่เป็นอันดับแรกเพราะที่นี่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ นอกจากนี้ในภาคฤดูร้อน หลังจากเก็บเกี่ยวหรือว่าทำนาเสร็จแล้วเกิดการว่างงาน จึงมีการคิดโครงการทั้งหมดประมาณ 10 กว่ารายการให้เกษตรกรได้เลือกทำ โดยมีเงินให้ยืมปลอดดอกเบี้ย รายละไม่เกิน 100,000 บาท แต่ไม่เกินสามรายต้องค้ำประกันกันเอง ดังนั้นอาชีพนี้ต้องมีตลาดรองรับ

#อีสานเดลี่ออนไลน์