(ชมคลิป) ศาลมหาสารคามจัดกจิกรรมโครงการเยาวชนชวนไปศาล ให้กับนักเรียน เพื่อความรู้ด้านกฏหมาย


ที่ศาลจังหวัดมหาสารคาม อ.3เมือง จ.มหาสารคาม ศาลมหาสารคามจัดกจิกรรมโครงการเยาวชนชวนไปศาล ให้กับนักเรียน โดยมีนักเรียนโรงเรียนผดุงนารีและโรงเรียนสารคามพิทยาคมเข้าร่วมกิจกรรม จัดกิจกรรมโครงการเยาวชนชวนไปศาล โดยมีกิจกรรม พบปะพี่เลี้ยงประจำกลุ่ม การบรรยายหัวข้อศาลยุติธรรมกับเยาวชน ในสังคมกับปัจจุบัน -หน่วยงานในระบบยุติธรรมกับประชาชน ศึกษาดูงานส่วนต่างๆในศาลและห้องพิจารณาคดีโดยแบ่งออกเป็นกลุ่ม4กลุ่มย่อยและสลับกันดูงาน ศึกษาดูงานศาลจำลองพิจารณาคดี การพิจารณาคดีและการไกล่เกลี่ยออนไลน์ กิจกรรมความยุติธรรมที่ออกแบบได้ โดยกิจกรรมจัด2 วัน เพื่อเผยแพร่ความรู้กฎหมายและกิจกรรมของศาล เพื่อให้ประชาชนในชุมชนนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันและเผยแพร่ความรู้และสร้างทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับศาลยุติธรรมให้แก่ประชาชน และเพื่อสร้างทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับศาลยุติกรรมใหแก่ประชาชน โดยมีวิทยากรจิตอาสา มาด้วยใจ จากศาล ผู้พิพากษาศาล ตำรวจ อัยการ
ตามวิสัยทัศน์ พันธกิจของสำนักงานศาลยุติกธรรมและนโยบายของประธานศาลฏีกา ข้อ3 รับใช้ประชาชน ยำระดับการอำนวยความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน มุ่งให้บุคลากรมีจิตสำนึกในการปฏิบัติหน้าที่ร่วมกัน ให้บริการประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพโดยยึดถือความต้องการของประชาชนผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง เน้นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมใหม่มาใช้สนับสนุนในการปฏิบัติงาน เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการบริการของศาลยุติธธรมโดยง่าย สะดวก ประหยัด รวดเร็ว เสมอภาค และเท่าเทียม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและศรัทธาของประชาชนต่อองค์กรศาลยุติธรรม ซึ่งศาลจังหวัดมหาสารคามมีแผนพัฒนาคุ้มครองสิทธิ์และเสรีภาพของประชาชน เพื่อเป็นการอำนวยความยุติธรรม และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายหรือกิจกรรมของศาลในรูปแบบต่างๆแก่ประชาชน อันจะเป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวันของประชาชนหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ด้วยการทำให้การเข้าถึงกระวนการยุติธรรม เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นได้ว่า ความต้องการขปงประชาชนต้องได้รับการตอบสนอง และสิทธิของประชาชนต้องได้รับการคุ้มครอง ประกอบกับปัจจุบัน ประชาชนที่ถูกฟ้องเป็นคดีในศาลบางส่วนเกรงกลัวหรือไม่เห็นความสำคัญในการมาศาล ทำให้ศาลไม่ทราบข้อมูลแห่งคดี จึงพิพากษาให้จำเลยแพ้คดีโดยการขาดนัดจำนวนมาก ส่วนการบริการประชาชนและประชาสัมพันธ์ศาลจังหวัดมหาสารคามจึงเห็นควรจัดโครงการ ศาลสัมพันธ์ชวนไปศาล ขึ้น เพื่อประชาสีมพันธ์และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับกฏหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติตนเมื่อมาติดต่อราชการหรือกิจกรรมของศาล ให้แก่ประชาชน อันเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามวิสัยทัศน์ พันธกิจของสำนักงานศาลยุติธรรมและนโยบายยของประธาน
นายอัครพันธ์ สัปปพันธ์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลมหาสารคาม กล่าวว่า โครงการนี้มีที่มาจาก แนวความคิดที่ว่าศาลจังหวัดมหาสารคามอยากที่จะให้บริการแก่ประชาชน แต่ว่าปัญหาคือแม้เราจะอยากให้บริการกับประชาชนอย่างไรก็ตามเนี่ยภาคประชาชนไม่มาศาลหรือไม่รับรู้ช่องทางที่สามารถติดต่อศาลได้เราก็ไม่สามารถที่จะให้ความสำคัญย่อยของโครงการชวนไปศาลที่วัดโครงการเยาวชนชวนไปศาลซึ่งจะส่งไปที่ตัวของนักเรียนจาก 2 โรงเรียนในจังหวัดมหาสารคามคือโรงเรียนสารคามพิทยาคมและโรงเรียนผดุงนารี โครงการที่จัดในวันนี้เป็นโครงการย่อย ของโครงการชวนไปศาล ซื่อว่าโครงการเยาวชนชวนไปศาล โดยเจาะกลุ่มไปที่เรียน2โรงเรียน ส่วนโครงการใหญ่ ชื่อว่าโครงการชวนไปศาลที่มามาจากคำว่า ประชาชน ซึ่งคำว่า “ชวน” เป็นอักษรย่อมาจาก ช ในโครงการขถึงชุมชน อักษร “ว” หมายถึง วัด และอักษร “น” หมายถึง นักเรียนตามโรงเรียนต่างๆโดยได้มีการจัดอบรมผู้นำจาก ศาสนสถานต่างๆ(วัด) หน่วยงานราชการ กรมการปกครอง (ชุมชน) เครื่อข่าย ทั้งหมดเหล่านี้ทำให้ประชาชนเกิดความรู้สึกว่า ศาลไม่ใช่สถานที่นากลัว เมื่อเกิดปัญหานั้นอาจศาลอาจจะไม่ใช่เป็นที่พึ่งแรก ของเค้าไม่ได้ หากเค้าคิดที่จะพึ่งศาล ศาลต้องเป็นที่พึ่งให้ได้
ที่ผ่านมาประชาชนกลัวศาลเพราะ อาจจะด้วยทัศคติแต่ไหนแต่ไร ด้วยความไม่รู้ปัจจุบัน ศาลหรือกฎหมายต่างๆ มีกลไกลในการที่จะให้การคุ้มครองสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นผู้ต้องหา จำเลย ผู้เสียหายพยาน เหยื่ออาชญากรรม จริงแล้วมีกลไกลในการคุ้มครองสิทธิ์หมด ด้วยความไม่รู้ ของประชาชน ซึ่งโทษประชาชนไม่ได้ จริงฟแล้วคือภาระหน้าที่ ที่ของรัฐที่จะต้องให้ความรู้นี้แก่ประชาชน ซึ่งศาลจังหวัดมหาสารคามก็ต้องการที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการที่จะให้ความรู้นี้แก่ประชาชนด้วย
นายวัชรพล กุประดิษฐ์ ผู้พิพากษาศาล เล่าว่า ตนเองเป็นวิทยากรซึ่งได้มีโอกาสที่จะเปิดศาลให้น้องๆจากโรงเรียนต่างๆเข้ามาศึกษาดูงานภายใน น้องก็มีความสงสัยในประเด็นเกี่ยวกับการทำงานของสารค่อนข้างมากซึ่งเราก็จะได้ตอบปัญหาว่าความจริงความการทำงานของสารรูปแบบการทำงานเป็นอย่างไรก็ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีที่น้องๆจะได้รับความรู้ตรงนี้จากตัวผู้พิพากษาเองด้วยตนเอง โดยมีนักเรียนจากโรงเรียนผดุงนารีครับและโรงเรียนสารคามพิทยาคมซึ่งเป็นโรงเรียนในพื้นที่ของจังหวัดมหาสารคามเราก็ขอตัวแทนของเยาวชนที่มีความสนใจเกี่ยวกับงานต่างๆในศาลหรือว่าสนใจหรือแม้แต่มีเพียงเสี้ยวเล็กๆที่อยากรู้ว่างานของศาลต้องทำอะไรบ้างเข้ามาเปิดศาลให้ ชมกัน ซึ่งได้มีบรรยายเกี่ยวกับเรื่องการสอบเข้าคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยต่างๆรูปแบบการศึกษาของคณะนิติศาสตร์และที่สำคัญคือจะศึกษาในระดับไหนสุดท้ายแล้วจะต้องมีอาชีพในการประกอบอาชีพเพื่อเลี้ยงดูตนเองและครอบครัวต่อไปหนึ่งในนั้นคือการสอบคณะนิติศาสตร์วิชาชีพในอาชีพต่างๆได้เชิญผู้ประกอบวิชาชีพทางด้านกฏหมายที่จบทางด้านคณะนิติศาสตร์มาให้ความรู้ไม่ว่าจะเป็นพนักงานสอบสวนที่เป็นพนักงานตำรวจเองผู้พิพากษา อัยการ ทนายความ
ในเรื่องของการทำงานของศาลยุติธรรมนะครับปัจจุบันการทำงานของศาลยุติธรรมได้เปลี่ยนการทำงานจากการทำงานเชิงรับเป็นการทำงานเชิงรุกมากขึ้นโดยเฉพาะศาลจังหวัดมหาสารคามที่พยายามลงไปในพื้นที่เพื่อให้เยาวชน ประชาชนได้รับความรู้เกี่ยวกับศาลยุติธรรมด้วยดังนั้นเนี่ยน้องเมื่อเห็นภาพของการทำงานของผู้พิพากษาที่เปลี่ยนแปลงไปแล้ว อยากจะให้นำภาพเหล่านี้ไปเป็นแรงบันดาลใจในการเข้ามาสู่ในตำแหน่งนี้เพราะอยากเห็นน้องเยาวชนมาอยู่ในจุดจุดนี้ด้วย โดย มี พ.ต.ท.กฤษฎา นิติพจน์ รองผกก.สส.สภ.มหาสารคาม เปิดเผยว่า ตนเองเป็นวิทยากร ทางตำรวจให้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมข้อกฎหมายต่างๆ ที่จำเป็นในการดำรงชีวิตรวมไปถึงตอบข้อสอบถามสงสัย ถึงอาชีพตำรวจและงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม ซึ่งก็มีผู้เข้าร่วมกิจกรามเข้ามาสักถาม ข้อมูลเป็นจำนวนมากและบางส่วนที่ไม่สอบถามในห้องก็สามารถโทรศัพท์ มาสอบถามปัญหาภายหลังได้ ในส่วนของวิชาการทางตำรวจได้แนะนำทั้งเรื่องการวางเป้าหมายสู่อาชีพนี้ โดยเฉพาะ กลุ่มที่เขาจะก้าวเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ หรือเข้าสู่รั้วของสถาบันอุดมศึกษา ก็ขอเป็นกำลังใจให้ ศาลจังหวัดมหาสารคามที่ให้โอกาสมาร่วมเป็นวิทยากรเพราะเราต่างมีหน้าที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับพี่น้องประชาชนที่มีความเดือดร้อนทุกข์ใจ และการที่ผู้เข้าอบรมมาร่วมกิจกรรมเปิดศาลให้ประชาชน ได้เข้ามารับรู้ถึงกระบวนการทำงาน ก็จะสามารถนำเรื่องในวันนี้ไปบอกต่อในสถาบันครอบครัวหรือคนที่รู้จัก ซึ่งโอกาสแบบนี้ก็ถือว่าเป็นสร้างความเข้าใจ สร้างความใกล้ชิดระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐ กับเยาวชน ถ้ามีเรื่องทุกข์ร้อนหรือมีปัญหาข้อกฎหมายอย่ากลัวสามารถเข้ามาสอบถามได้