มหาสารคาม (ชมคลิป) ภาคประชาสังคมผนึกกำลังเปิดตัวสภาพัฒนาการศึกษา

ภาคประชาสังคมผนึกกำลังเปิดตัวสภาพัฒนาการศึกษา จัดเวทีพหุภาคีสร้างความร่วมมือแก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็ก


ที่โรงเรียนโรงเรียนบ้านหนองบัวคู อ.นาดูน จ.มหาสารคาม จัดกิจกรรมโครงการ ชุมชนสร้างโรงเรียน โรงเรียนสร้างชุมชน ร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคามเขต 2 มูลนิธิแอ็คชั่นเอด อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) สมาคมไทบ้าน และสภาพัฒนาการศึกษามหาสารคามจัดเวทีเสวนาพหุภาคีจังหวัดมหาสารคาม สร้างการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาท้องถิ่น พร้อมผนึกพลังความร่วมมือผ่านการเซ็น MOU ร่วมพัฒนา 25 โรงเรียน ภายใต้โครงการแอ็คเซส สคูล (ACCESS School) นายสุรสิทธิ์ ถิตย์สมบรูณ์ ผู้อำนวยการ สพป. มหาสารคามเขต 2 เป็นประธานเปิดเวทีเสวนา
นายบุญเรือง ปินะสา ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบัวคูและประธานสภาพัฒนาการศึกษามหาสารคาม กล่าวว่า เวทีเสวนาในวันนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เป็นพื้นที่ปรึกษาหารือด้านการศึกษาในการสร้างความร่วมมือในการส่งเสริมและประสานให้เกิดการปรับปรุงด้านการศึกษาในระดับจังหวัด ระหว่างองค์กรภาคประชาสังคม หน่วยงานรัฐท้องถิ่น หน่วยงานทางด้านการศึกษา ภาคเอกชน และคณะกรรมการสถานศึกษา และชุมชน (2) เพื่อนำเสนอนวัตกรรมด้านการศึกษาในแนวการเรียนรู้จากการปฏิบัติ ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางต่อหน่วยงานรัฐท้องถิ่น หน่วยงานทางด้านการศึกษา ภาคเอกชน คณะกรรมการสถานศึกษา ชุมชน และภาคประชาสังคม เพื่อสร้างความร่วมมือในการส่งเสริมและสนับสนุน และ (3) เพื่อเพิ่มศักยภาพขององค์กรภาคประชาสังคมในการทำงานขับเคลื่อนประเด็นการเป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบและการบริหารที่โปร่งใสมีส่วนร่วม และสร้างความร่วมมือกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โรงเรียนบ้านหนองบัวคูร่วมมือกันกับภชุมชนภาคเอกชนได้มีการพัฒนา เช่น โดยน้องนำเศรษบกิจพอเพียง ร.9มาปรับใช้ โดย มีการปรับสนามเปลี่ยนสนามฟุตบอล เป็นนาข้าว ซึ่งทำให้ได้ผลผลิตเกินคาด ผลิต ส่วนหนึ่งเก็บพันธุ์ข้าวไว้อีกส่วนหนึ่งทำเป็นอาหารกลางวันของโรงเรียน ปลูกพืชผักสวนครัว ปลอดสารเคมี


นางสาวธีรดา นามโห นายกสมคมไทบ้าน เปิดเผยว่า ที่ผ่านมา เครือข่ายผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็กและภาคประชาสังคมในจังหวัดมหาสารคามได้รับการหนุนเสริมจากสมาคมไทบ้าน มาตั้งแต่ พ.ศ. 2560 ภายใต้สภาการศึกษาเพื่อปวงชน ภาคอีสาน เพื่อนำนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมมาใช้พัฒนาคุณภาพผู้เรียนและสร้างวิถีแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนและชุมชน ต่อมาในปี 2563 เครือข่ายได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการแอ็คเซส สคูล โครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสหภาพยุโรปและมูลนิธิแอ็คชั่นเอด อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) ซึ่งมีมหาสารคามเป็นหนึ่งในพื้นที่ดำเนินโครงการ เครือข่ายฯ ดำเนินงานเป็นหน่วยประสานงานและเชื่อมโยงเครือข่ายโรงเรียนใน จังหวัดมหาสารคาม ร้อยเอ็ดและกาฬสินธุ์ และได้รับการส่งเสริมศักยภาพเรื่อยมาจนกระทั่งในปี 2566 มีการจัดตั้ง “สภาพัฒนาการศึกษามหาสารคาม” อย่างเป็นทางการ โดยมีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาผ่านมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม โดยการปรับใช้นวัตกรรมต่าง ๆ ที่เหมาะกับบริบทของโรงเรียนและชุมชน เช่น จิตศึกษา ศาสตร์พระราชา การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ชุมชนการเรียนรู้ทาง และสุแนวโมเดล เป็นต้น ปัจจุบัน สภาพัฒนาการศึกษามหาสารคามมีโรงเรียนในเครือข่ายจำนวน 50 แห่ง โดยเป็นโรงเรียนต้นแบบจำนวน 2 แห่ง
เพื่อแสดงเจตจำนงความร่วมมือระหว่างภาคประชาสังคม หน่วยงานรัฐท้องถิ่น โรงเรียน และชุมชนในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา สภาพัฒนาการศึกษามหาสารคาม สมาคมไทบ้าน มูลนิธิแอ็คชั่นเอด อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคามเขต 2 ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือร่วมกับโรงเรียนขนาดเล็กและกลางจำนวน 25 แห่ง เพื่อดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการแอ็คเซส สคูล อาทิ การอบรมพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา การสร้างความร่วมมือเชิงนวัตกรรมและเชิงสร้างสรรค์ระหว่างโรงเรียน ชุมชน องค์กรภาคประชาสังคม คณะกรรมสถานศึกษา และหน่วยงานรัฐท้องถิ่น การขับเคลื่อนเชิงนโยบาย และการติดตามและประเมินผล