ขอนแก่น(ชมคลิป)เขื่อนอุบลรัตน์ เพิ่มการระบายน้ำสูงสุด 35 ล้านลูกบาศก์เมตร หลังมีน้ำไหลเข้าจำนวนมาก ป้องกันไม่ให้น้ำล้นคันกั้นเข้าท่วมอำเภอโนนสัง

เขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น เพิ่มการระบายน้ำสูงสุด 35 ล้าน ลบ.ม. หลังมีน้ำไหลเข้าจำนวนมาก และป้องกันไม่ให้น้ำล้นคันกั้นน้ำเข้าท่วมอำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู ขณะที่ชาวนาได้รับผลกระทบจากน้ำเต็มความจุเขื่อน ต้องลงแขกเกี่ยวข้าวกลางน้ำ

             วันที่ 23 ต.ค. 64 นายสุเทพ มณีโชติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เปิดเผยว่า หลังจากที่ ประชุมคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัดขอนอนแก่น ครั้งที่ 10/2564 ในวันที่ 23 ตุลาคม 2564 เวลา 10.30-11.30  น. ผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ (Video Conference) ที่ผ่านมา ผลปรากฎว่า หากปริมาณน้ำไหลเข้ามากกว่าน้ำระบายออก จะส่งผลให้ระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำอุบลรัตน์ เพิ่มขึ้นทุกวันอาจจะส่งผลกระทบกับชุมชนในเขตอำเภอโนนสัง จ.หนองบัวลำภู ซึ่งอยู่ด้านหลัง Dike โนนสัง ระดับหลังคัน +184 ม.(รทก.) โดยทางเขื่อนอุบลรัตน์ ขอควบคุมระดับน้ำในอ่างฯอุบลรัตน์ ไม่ให้เกินระดับ +183 ม.(รทก) เพื่อลดความเสี่ยงผลกระทบของชุมชนโนนสัง และ ก็ลดผลกระทบท้ายน้ำให้เกิดน้อยที่สุดจากการขอเพิ่มระบายจาก มติ เดิม ที่ระบายไม่เกินวันละ 25 ล้าน ลบ.ม. ขอปรับเพิ่มการระบาย เป็นขั้นบันได เพิ่มวันละ 3 ล้าน ลบ.ม. ขอปรับเพิ่มการระบายสูงสุดไม่เกินวันละ 35 ล้าน ลบ.ม. โดยวันที่ 23 ต.ค. 64 แผนระบายวันละ 28 ล้าน                                วันที่ 24 ต.ค. 64 แผนระบายวันละ 31 ล้าน ลบ.ม. วันที่ 25 ต.ค. 64 แผนระบายวันละ 34 ล้าน ลบ.ม. และวันที่ 25 ต.ค.64 เป็นต้นไป แผนระบายวันละ 35 ล้าน ลบ.ม. 

             ทั้งนี้ ให้พิจารณาปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนในแต่ละวันด้วย หากมีความจำเป็นจะต้องเพิ่มการระบายมากกว่าวันละ 35 ล้าน ลบ.ม. จะต้องขอมติเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัดขอนแก่น ก่อนในการประชุมครั้งต่อไป ซึ่งในวันนี้ปริมาณน้ำที่เขื่อนอุบลรัตน์มีปริมาณกักเก็บ 2,698 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 110.99 ของความจุ ได้ระบายออก 28 ล้าน ลบ.ม. ขณะที่น้ำไหลเข้าเขื่อนอุบลรัตน์ 99.82 ล้าน ลบ.ม.

             ส่วนพื้นที่เหนือเขื่อนอุบลรัตน์ได้รับผลกระทบ จากปริมาณน้ำที่ไหลเข้าเขื่อนปริมาณมากต่อเนื่อง ชาวบ้านโสกจาน อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู ได้ลงแขกดำน้ำเกี่ยวข้าว เนื่องจากปริมาณน้ำเขื่อนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนที่เอาทันก็ต้องลุยน้ำเกี่ยวข้าว ส่วนที่เอาไม่ทันก็ต้องปล่อยให้จมน้ำเน่าเสีย มันคือความทุกข์ระทมของชาวนาที่ลงทุนทำนามาทั้งปี พอจะได้เก็บเกี่ยวน้ำก็มาท่วม ส่วนที่เกี่ยวได้ก็เป็นข้าวที่ไม่มีคุณภาพแต่ก็ต้องทำ ค่าปู๋ยค่ายา เครียดกับนาข้าวที่ถูกน้ำท่วมบางคนก็ต้องไปตกปลาตามริมทางเพื่อเป็นรายได้จุนเจือครอบครัว.

#อีสานเดลี่ออนไลน์