ร้อยเอ็ด-ชมรมนายก อบต.ร้อยเอ็ด เดือดเหตุการจัดสรรงบกระจุกแต่ไม่กระจาย บุกพบผู้ว่า ทวงถามสาเหตุการจัดสรรงบประมาณที่ไม่เป็นธรรม

ชมรมนายก อบต.ร้อยเอ็ด เดือดเหตุการจัดสรรงบกระจุกแต่ไม่กระจาย บุกพบผู้ว่า ทวงถามสาเหตุการจัดสรรงบประมาณที่ไม่เป็นธรรม และส่งผลกระทบต่อ อปท.อื่นๆทั่วจังหวัด

เมื่อเวลา 10.30น.วันที่ 5ก.ค.2564 ที่ห้องประชุมชั่น 4 ศาลากลางจังหวัดร้อยเอ็ด นางจิราพร เกษมทรัพย์ ประธานชมรมนายก อบต.จังหวัดร้อยเอ็ด นายชัย สินธุไพร เลขานุการชมรมนายก อบต.จังหวัดร้อยเอ็ด นายองอาจ วงศ์พานิช นายพิชิต หอมพุ่ง นางเพียรทอง เฉลิมแสน นายสุรสิทธิ์ สุรพินิจ พร้อมด้วยคณะกรรมการชมรม ซึ่งเป็นนายก อบต. จากอำเภอต่างๆกว่า 40 คน เป็นตัวแทนเข้ายื่นหนังสือต่อทางจังหวัดเร้อยเอ็ด เพื่อขอให้พิจารณาทบทวนการจัดสรรงบประมาณตามบัญชีโครงการเสนอขอภายใต้กลุ่มแผนงานโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่น และชุมชนบนพื้นฐานของโอกาสและศักยภาพของท้องถิ่นระดับพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด
โดยมีนายชนาส ชัชวาลวงศ์ รอง ผวจ.ร้อยเอ็ด ท้องถิ่นจังหวัด และเจ้าหน้าที่จากสำนักงานจังหวัดเข้ารับเรื่องร้องเรียน ตอบข้อสงสัยในประเด็นต่างๆ ตามบัญชีโครงการที่เสนอขอภายใต้กลุ่มแผนงานโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชนบนพื้นฐานของโอกาสและศักยภาพของท้องถิ่นระดับพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด(บัญชีหน่วยรับงบประมาณองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) และสิ่งที่แนบมาด้วยคือตารางการจัดสรรงบประมาณ 1 ชุด

นายชัย สินธุไพร เลขานุการขมรม ชมรมนายกองค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า ทางชมรมฯได้รับทราบข้อมูลบัญชีโครงการเสนอของบประมาณภายใต้กลุ่มแผนงานโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชน บนพื้นฐานของโอกาสและศักยภาพของท้องถิ่นระดับพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด ความละเอียดทราบแล้วนั้น ชมรมนายกองค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดร้อยเอ็ดได้พิจารณาเห็นว่า บัญชีโครงการเสนอขอภายใต้กลุ่มแผนงานโครงการดังกล่าวนั้นไม่ได้รับการจัดสรรอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน การจัดสรรงบประมาณไม่ทั่วถึง เนื่องจากมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ดหลายแห่ง ยังมีโครงการที่จะต้องดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน และมีโครงการที่มีความจำเป็นต้องดำเนินการเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชนในพื้นที่ด้วย
จากข้อมูลที่ได้รับทำให้ชมรมนายกองค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดร้อยเอ็ดมีความเคลือบแคลงใจในการจัดสรรงบประมาณเงินกู้ตามหัวเรื่องงบเงินกู้ทุกส่วนต้องร่วมกันรับผิดชอบการเฉลี่ยงบที่ได้มาควรกระจายให้ทั่วถึงพี่น้องประชาชนกระจายทั่วถึงน้อยมากจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 203 แห่ง ได้รับการพิจารณาจัดสรรงบประมาณดังกล่าวประมาณ 40 แห่ง ที่เหลือไม่ได้รับงบประมาณเขาจะอยู่อย่างไร งบประมาณดังกล่าวเป็นวบประมาณเงินกู้ กู้มาแล้วเวลาใช้หนี้ใช้หนี้ ประชาชนทุกคนก็ต้องใช้หนี้ด้วยแต่การพิจารณามีทั้งได้น้อย ได้มาก และไม่ได้เลย ทั้งๆที่มีหนังสือสั่งการจากจังหวัด ส่งมาอำเภอ มีแบบฟอร์มคำถามและโครงการที่เข้าข่ายได้รับการอนุมัติ ที่สามารถทำได้ ถูกต้องตามระเบียบ ก็ทำเหมือนกันกับ อปท.อื่นที่ได้รับการพิจารณา แต่แล้วการพิจารณาดังกล่าวกลับมีพวกเรา หากเป็นเช่นนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของเราจะดำเนินโครงการต่างๆเพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนได้อย่างไร พี่น้องประชาชนถามมา เราจะตอบอย่างไร หากปล่อยให้เป็นเช่นนี้ปัญหามันจะเกิดขึ้นตามมาอีกมากมาย

ดังนั้นทางชมรมนายกองค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดร้อยเอ็ด จึงขอให้ทางจังหวัดพิจารณาทบทวนบัญชีโครงการที่เสนอขอภายใต้กลุ่มแผนงานโครงการเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด เกิดประโยชน์สูงสุดกับพี่น้องประชาชน และทั่วถึงทุกพื้นที่อย่างเท่าเทียมกัน พร้อมทวงถามเรื่องงบเงินกู้ 4 ประเด็น
1 คณะกรรมการมีแนวทางหลักเกณฑ์การพิจารณาจัดสรรงบประมาณดังกล่าวอย่างไร เพราะ อปท.ทุกแห่งจัดทำตามแบบฟอร์มที่ส่วนกลางกำหนดให้ทุกประการ
2. การจัดสรรงบประมาณดังกล่าวกระจุกตัวอยู่เป็นบาง อปท และไม่เป็นธรรมกับ อปท.อื่นๆ
3. คณะกรรมการมีแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และอนาคตอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ในลักษณะเดียวกันขึ้นมาอีก
4.ตัวแทนที่ได้รับการคัดเลือกจากสัดส่วนของอปทสัดส่วนละ 3 คนทำไมเวลาเข้าไปร่วมพิจารณารัยจัดสรรงบประมาณจึงให้เหลือสัดส่วนฝั่งละ 1 คน

สำหรับโครงการฟื้นฟูเศษฐกิจท้องถิ่นและชุมชนบนพื้นฐานของโอกาสและศักยภาพ(งบเงินกู้)จังหวัดร้อยเอ็ดหน่วยงานที่ได้รับงบประมาณ
องค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด11 โครงการ
62,490,000 บาท
เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด 8 โครงการ 49,757,000 บาท
เทศบาลเสลภูมี 5 โครงการ 29,370,000 บาท
เทศบาลตำบลหนองหลวง 6 โครงการ 15,681,000 บาท
เทศบาลตำบลหินกอง 4 โครงการ 12,890,400 บาท
เทศบาลตำบลหนองผือ4 โครงการ11,448,000 บาท
เทศบาลตำบลเกษตรวิสัย 5โครงการ 8,482,000 บาท
เทศบาลตำบลเชียงใหม่1 โครงการ 5,549,600 บาท
เทศบาลตำบลท่าม่วง1 โครงการ 5,549,600 บาท
เทศบาลตำบลทุ่งหลวง 7 โครงการ 3,390,000 บาท
เทศบาลตำบลเมืองไพร 2 โครงการ1,988,500 บาท
เทศบาลตำบลบ้านนิเวศน์ 3 โครงการ 1,797,400 บาท
เทศบาลตำบลเกาะแก้ว 1 โครงการ1,224,000 บาท
เทศบาลตำบลนิเวศน์ 2 โครงการ 997,000 บาท
เทศบาลตำบลศรีสมเด็จ1 โครงการ 396,000 บาท
(รวม 50 โครงการ 148,520,500 บาท)

อบต.บ้านตู่ 6 โครงการ 17,411.000 บาท
อบต.แคนใหญ่ 7 โครงการ 17,232,000 บาท
อบต.หนองขาม 4โครงการ 11,520,000 บาท
อบต.บึงงาม 1 โครงการ 5,594,600 บาท
อบต.นาอุตม 1 โครงการ 5,594,600 บาท
อบต.โพธิ์ศรี 1 โครงการ 5,549,600 บาท
อบต.สะอาด 1 โครงการ 5,549,600 บาท
อบต.สะอาดสมบูรณ์ 4โครงการ 4,939,000 บาท
อบต.สาวแห 6 โครงการ 3,000,000 บาท
อบต.โพธิ์ทอง 6โครงการ 2,552,600 บาท
อบต.บ้านเขือง1 โครงการ 1,902,000 บาท
อบต.กกโพธิ์ 2 โครงการ 1,843,400 บาท
อบต.ป่าสังข์ 2 โครงการ 1,796,000 บาท
อบต.นาโทธิ์ 3 โครงการ 1,650,000 บาท
อบต.หนองแก้ว 3 โครงการ 1,491,000 บาท
อบต.เมืองทอง 2 โครงการ 1,451,700 บาท
อบต.ราชธานี 3 โครงการ 1,438,400 บาท
อบต.ดอนโอง 3 โครงการ 1,379,000 บาท
อบต.สระดู 2 โครงการ 991,000 บาท
อบต.โคกสว่าง 2 โครงการ 976,100 บาท
อบต.แสนสุข 2 โครงการ 500,000 บาท
อบต.ชานุวรรณ 1 โครงการ 500,000 บาท
อบต.บ้านแจ้ง 1 โครงการ 496,800 บาท
อบต.อาจสามารถ 1 โครงการ 496,800 บาท
อบต.คำนาดี 1 โครงการ 489,000 บาท
(รวม66 โครงการ 94,500,800)

รวมทั้งสิ้นงบประมาณที่ได้รัย 127 โครงการ
307,354,700 บาท

หมายเหตุ ท้องถิ่นในจังหวัดร้อยเอ็ด ทั้งหมด 203 แห่ง แยกเป็น
– อบจ. จำนวน 1 แห่ง
– เทศบาลตำบล จำนวน 73 แห่ง (ได้รับจัดสรรงบประมาณ จำนวน 14 แห่ง)
– อบต. จำนวน 129 แห่ง (ได้รับจัดสรรงบประมาณ จำนวน 25 แห่ง)


ซึ่งวันนี้ขมชมนายก อบต.จึงได้เข้ายื่นหนังสือเพื่อขอความเป็นธรรมจากทางจังหวัดและขอให้ทางจังหวัด ส่งเรื่องถึงฝ่ายที่จัดสรรงบประมาณเงินกู้จากส่วนกลาง หรือผู้มีอำนาจให้ทบทวนการอนุมัติงบประมาณที่หลายแห่งทำตามข้อกำหนดแต่ไม่ได้รับการพิจารณาเลย หากขืนปล่อยเป็นเช่นนี้ประชาชนอีกจำนวนมากจะเดือดร้อน ซึ่งชมรม อบต.ร้อยเอ็ดจะเฝ้าติดตามความคืบหน้าในการพิจารณาอย่างต่อเนืาองต่อไป
ขณะที่นายชนาส ชัชวาลวงศ์ รอง ผวจ.ร้อยเอ็ดกล่าวว่า จากการได้รับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดสรรงบประมาณในครั้งนี้ ซึ่งตัวเลขของจังหวัดอยู่ที่ประมาณ 588 ล้าน และลงไปใน อปท.จำนวน 307 ล้าน ถือว่าเป็นตัวเลขสูงพอควร ยิ่งโครงการนี้ให้ทุกภาคส่วนนำเสนอ ในส่วนที่เหลือที่มาจากรายการเป็นโครงการมาจากภาคประชาชน สภาเกษตรกร อาจมีการเสนอผ่านหน่วยงานราชการกระจายลงไป นี่คือการสนับสนุนงบในภาพรวม ส่วนการการกำหนดสัดส่วนการจัดสรรงบประมาณได้มาจากการประชาคมไม่น้อยกว่า 30% ในการปฏิบัติที่ผ่านมาประชาคมมีอำเภอ มีฝ่ายปกครอง รวบรวมขึ้นมา ส่วนราชการไหนรับให้บ้าง บางโครงการของ อบต.ก็ได้มาจากภาคประชาชนในอบต.นั้นด้วย ต้องดูในรายละเอียด ดังนั้นจากข้อเสนอของทุกท่านในวันนี้จะให้ทางสำนักงานจังหวัด นำข้อเสนอรายงานถึงฝ่ายที่รับผิดชอบ นำไปเสนอฝ่ายที่เกี่ยวข้อง หรือผู้มีอำนาจอย่างเร่งด่วน ส่วนผลเป็นประการใดก็ค่อยว่ากันอีกที
วินัย วงศ์วีระขันธ์ ข่าว