กระทรวงพาณิชย์ เชิงรุก ไม่ขายอย่างเดียว ลงแขกเกี่ยวข้าวดูแลการผลิตทุกขั้นตอน ให้ปลอดจากสารพิษเป็นเกษตรอินทรีย์ รองรับตลาดต่างประเทศ

เมื่อเวลา 11.00 น.วันที่ 18 พฤศจิกายน 2563 นายไชยยศ จิรเมธากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ได้มาเป็นประธาน ในการดำเนินการ ของกิจกรรมโครงการ “กองทุนฟื้นฟู ผลิต พาณิชย์ตลาด” พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ของ กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ ข้าวบ้านหันทา ตำบลปะโค อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี โดยมีนายวันชัย จันทร์พร รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ,นายไกรสร พิมพ์บึง รักษาการเลขาธิการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดอุดรธานี พร้อมด้วยชาวบ้านเกษตรกรพื้นที่ ให้การต้อนรับ

นายวันชัย จันทร์พร รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี เปิดเผยว่า จังหวัดอุดรธานี มีพื้นที่ จำนวน 7.3 ไร่ พื้นที่ทำประโยชน์ ทำการเกษตร จำนวน 4.5ล้านไร่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมของ จังหวัด GPP มีมูลค่าประมาณ 131,521 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่ เป็นผลผลิตทางด้านการเกษตร รองลงมาได้แก่ผลผลิตทางด้านการค้าส่ง ค้าปลีก สำหรับพืชเศรษฐ์กิจ หลักของจังหวัด ได้แก่ ข้าว อ้อยโรงงาน มันสำปะหลัง ยางพารา นอกจากนี้ยังมี กล้วยหอมทอง มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง และไม้ดอกอีกด้วย

ในส่วนจังหวัดอุดรธานี มีเกษตรที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดอุดรธานี จำนวน1,333 กลุ่ม สมาชิก จำนวน167,598 ราย โดยมีเกษตรขึ้นทะเบียน จำนวน 11,790 ราย มียอดหนี้ 1,589,092.60 บาท องค์กรได้รับงบอุดหนุนจำนวน 218 องค์กร จากนั้นได้ร่วมกันทำการกิจกรรมลงแขกเกี่ยวข้าวอินทรีย์ มีเกษตรในพื้นที่ จำนวน100 คน เพราะปัจจุบันนี้เทคโนโลยีด้านการเกษตรที่พัฒนาขึ้นมา ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าวจึงหาดูได้ยากขึ้นในตอนนี้เพราะชาวนา หลายคนเปลี่ยนมาใช้รถเกี่ยวข้าวในการเก็บเกี่ยว ที่ประหยัดเวลา ประหยัดแรงงาน และยังเก็บเกี่ยวผลผลิตได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ทางกลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ ข้าวบ้านหันทา ตำบลปะโค ได้สินค้าแปรรูป ในท้องถิ่น มาจัดแสดง ซึ่งเป็นสร้างงานสร้างรายได้อีกทางให้กับเกษตรกร ดังกล่าว

นายไชยยศ จิรเมธากร กล่าวว่า แนวคิดการจัดงานในวันนี้เกิดขึ้นจากการนำนโยบาย “เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด” ของ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งมีความสอดคล้องกับภารกิจหลักของกองทุนพื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ที่ต้องการช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรภายใต้กรอบคิดใหม่ ในการทำให้เกิดผลผลิตที่เป็นเศรษฐกิจแบบพึ่งพาตนเองในระดับพื้นที่ โดยเฉพาะปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด 19 ที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และมีสิ่งใหม่เกิดขึ้นดังนี้คือ 1.แรกการพึ่งพาการผลิตภายในประเทศมากขึ้น ,2.เกิดการบริการรูปแบบใหม่ทั้งด้านดิจิตอล คนซื้อขายตลาดออนไลน์มากขึ้น,3.เกิดผู้บริโภคที่เป็นห่วงสุขภาพตัวเองมากขึ้น,4. ก่อให้เกิดความคุ้นเคยในการใช้ชีวิตเพียงลำพังภายในบ้าน และ 5. การเตรียมตัวเพื่อปรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ในอนาคต

นายไชยยศ จิรเมธากร กล่าวต่อว่า เราต้องการให้ระบบราชการเปลี่ยนไป จากที่พาณิชย์ ทำหน้าที่การขาย อยู่แต่ในสำนักงาน แต่ตอนนี้เปลี่ยนใหม่ต้องลงมาในพื้นที่ดูว่าเกษตรกรผลิตสินค้าหน้าตาเป็นเช่นไร แล้วมาช่วยในการพิจารณาว่า จะทำอย่างไรจะสร้างมูลค่าเพิ่มขึ้นมา เริ่มต้นจากการสร้างชื่อ ของสินค้าการ สร้างแบรนด์ การสร้างระบบของการบรรจุภัณฑ์ กระบวนการค้า ในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงระบบทางออนไลน์ ซึ่งทางกองทุน จะเข้ามาดูแนวความคิด การพัฒนา การใช้เทคโนโลยี ต่างๆ ของการผลิต ให้สินค้ามีคุณภาพมากขึ้น ให้ปลอดจากสารพิษเป็นเกษตรอินทรีย์ เพื่อให้ทันต่อความต้องการของตลาด ของต่างประเทศ ในปัจจุบัน