(ชมคลิป)กอ.รมน.เลย ปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ ในหลวง รัชกาลที่ 10


วันที่ 28 ก.ค.2563 ที่ป่าบ้านหนองบง หมู่ 4 ต.หนองบัว อ.ภูเรือ จ.เลย พ.อ.สมหมาย บุษบา รอง ผบ.มทบ.28/รอง ผอ.กอ.รมน.จังหวัดเลย(ท.) เป็นประธาน “ โครงการ กอ.รมน.จังหวัดเลยปลูกป่า และพัฒนาป่าไม้ ” เนื่องในวโรกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ 28 ก.ค.2563 “พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ร่วมกับ จิตอาสาพระราชทานฯ ,ส่วนราชการภาครัฐ ,ผู้นำชุมชน, และประชาชนทุกภาคส่วนฯ ร่วมกันปลูกป่า จำนวน 141 ไร่เศษ
พ.อ. สมหมาย บุษบา รอง ผบ.มทบ.28/รอง ผอ.รมน.จังหวัดเลย(ท.) กล่าวถึงโครงการปลูกป่าในวันนี้ว่า โครงการ กอ.รมน.จังหวัดเลยปลูกป่า และพัฒนาป่าไม้ ” เนื่องในวโรกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ 28 ก.ค.2563 “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ” มีวัตถุประสงค์: เพื่อให้ส่วนราชการ,หน่วยงานภาครัฐและภาคประชาชน ได้ร่วมแสดงความจงรักภักดี และสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณ ที่ได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการเพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎร นโยบายของ กอ.รมน.จังหวัดเลย กำหนดเป้าหมายพื้นที่ปลูกป่า จำนวน 141ไร่เศษ โดยกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดเลย และหน่วยป้องกันและพัฒนาป่าไม้ภูเรือ ซึ่งดำเนินการด้านการป้องกัน และปราบปรามการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้

ตลอดจนการฟื้นฟูป่า จึงจัดทำ “ โครงการ กอ.รมน.จังหวัดเลยปลูกป่า และพัฒนาป่าไม้” ขึ้น เขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าภูเปือย ป่าภูขี้เถ้า และป่าภูเรือ เนื้อที่ 144 ไร่ ท้องที่บ้านหนองบง หมู่ที่ 4 ต.หนองบัว อ.ภูเรือ จ.เลย เพื่อให้ประชาชนสามารถอยู่ร่วมกับป่า และมีรายได้เสริมจากการปลูกพืชโดยที่ไม่ทำลายป่าไม้ โดยการปลูกป่าหลากหลายชนิดร่วมกับพืชเศรษฐกิจ นอกจากทำให้ชาวบ้านมีรายได้ แล้ว ยังทำให้มีป่าไม้เพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่งด้วย เป็นการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและความต้องการของประชาชน สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน อย่างเป็นรูปธรรม


โครงการปลูกป่าในครั้งนี้ทำให้มีพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 141 ไร่ ทำให้เกษตรกรมีแหล่งน้ำในการทำเกษตรกรรม เป็นการป้องกันปัญหาฝนแล้งและ น้ำท่วม ตลอดทั้งป้องกันไฟป่าได้ตลอดทั้งปี อีกทั้งยังสร้างความเข็มแข็งให้แก่เกษตรกร และสร้างความเข้าใจให้คนสามารถอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างยั่งยืน นอกจากนี้บริเวณที่จัดทำฝายชะลอน้ำทำให้ดินมีความชุ่มชื้น ช่วยเก็บกักน้ำลดความรุนแรงของการเกิดไฟป่าก็จะช่วยลดการพังทลายของหน้าดิน และลดความรุนแรงของกระแสน้ำในลำห้วย ตลอดจนช่วยกักเก็บตะกอนและวัสดุต่างๆ ที่ไหลลงมากับน้ำในลำห้วย เป็นการขยายผลให้เป็นป่าชุมชนตามกฎหมายต่อไป

ดำรงค์ รักษ์จรรยาวงศ์ / จ.เลย /