เลย – สมาคมชาวไร่อ้อยร้องขอรับคนต่างด้าวแก้วิกฤตขาดแคลนแรงงาน


ที่ห้องประชุมพรมเลิศ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเลย นายดำรงค์ สิริวิชย อิ่มวิเศษ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเลย เป็นประธานในการประชุมแนวทางแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานต่างด้าว มีนายปัญญา ฤกษ์ใหญ่ แรงงานจังหวัดเลย พร้อมหัวหน้าส่าวนราชการ ภาคเอกชน สมาคมชาวไร่อ้อย เกษตรกร ร่วมประชุม
นายปัญญา ฤกษ์ใหญ่ แรงงานจังหวัดเลย กล่าวว่า เนื่องจากจังหวัดเลยได้รับหนังสือด่วนที่สุด เมื่อวันที่ 30 ธ.ค.2564 สมาคมชาวไร่อ้อยที่ราบสูง เรื่องขอความอนุเคราะห์ให้แก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานภาคการเกษตรต้องการแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติคือลาว เมียนมา และกัมพูชา โดยฤดูการผลิต 2564/2565 มีพื้นที่ปลูกอ้อย 280,000 ไร่ ปริมาณอ้อยหีบ 3,000,000 ตัน มีความต้องการแรงงานต่างด้าว 5,000 คน เนื่องจากแรงงานไทยไม่นิยมทำงานนี้ ทาง สนง.แรงงานจังหวัดเลยจึงขอรับข้อมูล จงเลย มี 2 สมาคมคือ สมาคมเกษตรกรชาวไร่อ้อยจังหวัดเลย มีพื้นที่ ปลูก 144,576 ไร่ อ้อยหีบ 1,500,000 ตัน ต้องการแรงงานต่างด้าว 5,231 คน และสมาคมชาวไร่อ้อยที่ราบสูง มีพื้นที่ปลูก 190,000 ไร่ ปริมาณอ้อยเข้าหีบ 1,546, 317 ไร่ ต้องการแรงงานต่างด้าว 5,000 คน สำหรับปริมาณอ้อยในฤดูการผลิตนี้ โรงงานน้ำตาลรวมเกษตรกร(มิตรภูหลวง) พื้นที่ปลูก 256,000 ไร่ ผลผลิต 2,356,000 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย 9.20 ตัน/ไร่ และ โรงงานน้ำตาลขอนแก่น(วังสะพุง) 152,000 ไร่ ผลผลิต 1,520,000 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย 10.00 ตัน/ไร่ ส่วนรถจักรตัดอ้อยปีนี้มี 36 คัน พื้นที่ตัดอ้อย 55,998 ไร่ ปริมาณอ้อย 550,000 ตัน เท่านั้น ด้านทางราชการได้ผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวในพื้นที่ผู้ลักลอบเข้ามาแล้ว หรือผู้ยังไม่กลับประเทศให้มาลงทะเบียนแรงงานต่างด้าว รัฐบาลได้ทำ MOU เมื่อ 16 พ.ย.2564 ใหม่ เน้น 8 ขั้นตอน เช่น มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 การคัดกรอง การกักตัว การคัดเลือกแรงงานต่างด้าวที่จะรับเข้ามา อีกด้วย กรมการจัดหางานต้องทำสิ่งเหล่านี้แล้วรายงานไปยังรัฐบาล เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของผู้ประกอบการด้านอ้อยในปีการผลิต 2564/2565 นี้
ด้านายจิรพงศ์ ทันวงษา นายกสมาคมเกษตรชาวไร่อ้อยจังหวัดเลย กล่าวว่า ฤดูกาลผลิต 2564/2564 พื้นที่จังหวัดเลยมีการปลูกอ้อยโรงงานจำนวนมากในหลายอำเภอ โดยสมาคมชาวไร่อ้อยที่ราบสูง สมาคมชาวไร่อ้อยจังหวัดเลย การใช้รถตัดอ้อยขนาดเล็ก ตัดได้ 1.83 ไร่/ชม. อ้อย 23 ตัน/ชม. รถตัดขนาดกลาง 2.51ไร่/ชม. อ้อย 27 ตัน/ชม.รถตัดขนาดใหญ่ 3.13 ไร่/ชม. ผลผลิตอ้อย 36 ตัน/ชม. หากใช้แรงงานคนตัดอ้อยสด 1.41 -3.35 ตัน/วัน/คน และอ้อยเผา ได้ 3.63-6.00 ตัน/วัน/คน ปัญหาที่เกิดคือ การขาดแคลนแรงงานต่างด้าว เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 การปิดประเทศปิดด่านผ่านแดน ที่สำคัญกระทรวงอุตสาหกรรมประกาศระบุต้องตัดอ้อยสดในจำนวนมาก อ้อยเผาให้มีน้อยที่สุดระบุเปอร์เซ็นต์ออกมา ด้านค่าจ้างตัดอ้อยเผา 1 บาท/มัด ส่วนอ้อยสด 3 บาท/มัด จึงได้รับผลกระทบหนัก เพราะแรงงานส่วนใหญ่ คือ แรงงานต่างด้าว ส่วนแรงงานในพื้นที่ออกไปขายลอตเตอรี่กันเกือบหมด สำหรับแรงงานจากต่างจังหวัดนั้นมีการตกเขียวโกงกันมาแล้ว จึงได้ประสงค์ขอรับแรงงาน 3 สัญชาติดังกล่าว
นายคำปิ่น บุปภาที เกษตรกรชาวไร่อ้อย บ้านบุ่งผักก้าม ต.วังสะพุง อ.วังสะพุง จ.เลย เปิดเผยขณะตัดอ้อยของตนต่อผู้สื่อข่าวว่า ก่อนนี้ทางครอบครัวและญาติทำนาข้าวแต่มาระยะหลังประสบกับค่าจ้างแรงงานสูง ขาดแรงงาน อีกทั้งสภาพธรรมชาติส่งผลกระทบมากเพราะข้าวต้องการน้ำมากต้องดูแลใกล้ชิด จึงชวนกันหันมาปลูกอ้อยโรงงานแทน เฉพาะไร่อ้อยตนมี 3 ไร่ มีความสมบูรณ์ลำใหญ่-ยาว พ่อค้าคนกลางมารับเหมาให้ราคา 9,000 บาท/ไร่ แต่ตนไม่ขายเหมาต้องการตัดกันเองกับภรรยาสองคน ซึ่งก็ต้องใช้ระยะเวลาตัดประมาณ 20 วันก็ยอมเพราะหากตัดเองจะได้เงินกว่า 50,000 บาท วันไหนเหนื่อย ติดธุระก็ไม่ตัดไม่มีใครมาบังคับ ตัดมัดละ 15 ลำ ส่งขาย 2 ตัน/วัน ที่หน่วยรับซื้อใกล้บ้าน มีเวลาไปทำงานอื่นอีกด้วยและอ้อยจำนวนไม่มากด้วย หากใครมีมากก็จำเป็นดิ้นรนหาแรงงานฯ ด้านแรงงานในท้องถิ่นบ้านเรานั้นหายากครับ เขาไปทำงานตนเอง อีกทั้งไปขายลอตเตอรี่มากจริง ๆ นอกนั้นก็ต้องกรีดยาง-ส่งยางพาราแบบขี้ยาง/ก้อนถ้วย เห็นได้จากไร่อ้อยข้างเคียงของตน ยังรอการตัดป้อนโรงงานเพราะขาดแรงงาน ส่วนแรงงานต่างด้าวเคยเข้ามาจำนวนมากในช่วงยังไม่มีการระบาดของเชื้อโควิดเขามาทำส่วนใหญ่เหมาตัด ปีนี้นับว่ากระทบมากเพราะประเทศปิด ด่านปิด ด้วย
ดำรงค์ รักษ์จรรยาวงศ์/ จ.เลย /