ผู้สื่อข่าวรายงาน เมื่อ วันที่ 22 เม.ย.67 เวลา 17.30 น. ที่ลานวัฒนธรรมวัดท่าคก ถนนชายโขจง ต.เชียงคาน อ. เชียงคาน จ.เลย นายอนุพงศ์ คำภูแก้ว รองผู้ว่าราชการจังหวัดเลย เป็นประธานในพิธีเปิด การกิจกรรมการสื่อสารและส่งมอบธงสัญลักษณ์”เชียงคานสู่การท่องเที่ยวระดับสากล Green Destinations Silver Award 2024″ มีนายอภินันต์ สุวรรณโค นายอำเภอเชียงคาน หัวหน้าส่วนราชการ ภาคเอกชน และผู้แทนหน่วยงานในจังหวัดเลย หน่วยงานอำเภอ เทศบาล ชุมชน ผู้ประกอบการ วิทยากร Mr. Masaru Takayama และ Mrs. Supaporn Prachumpai จาก องค์กร Green Destinations และ Asia Ecotourism Network (AEN) ร่วมงาน
นายธรรมนูญ ภาคธูป ผู้จัดการสำนักงานพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเลย กล่าวรายงานว่า ตามที่ อพท. ได้ดำเนินการขับเคลื่อนการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวต้นแบบตำบลเชียงคาน ตามแนวทางเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (Global Sustainable Tourism Criteria : GSTC) ของสภาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2562 โดยมีกระบวนการสำคัญที่เริ่มตั้งแต่ 1) การกำหนดเป้าหมาย และกำหนด Destination Positioning ร่วมกับหน่วยงานหลัก และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งมีหน่วยงานเข้าร่วมทั้งหมด 60 หน่วยงาน 2) เข้าสู่กระบวนการ GSTC Destination Assessment Program (Baseline) เพื่อประเมินสถานะความยั่งยืนของแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งเมื่อได้ผลการประเมินพื้นฐานแล้ว ก็ดำเนินการวิเคราะห์ Gap Analysis และจัดทำแผนปฏิบัติการฯ ร่วมกัน 3) ต่อจากนั้นใน ปี 2563 – 2565 ดำเนินการขับเคลื่อน GSTC ทั้งหมด 31 ข้อ ผ่านกลไก การขับเคลื่อนขององค์กรจัดการแหล่งท่องเที่ยว (DMO) ทั้งในระดับจังหวัด และเชื่อมโยงสู่ระดับ พื้นที่ ซึ่งผลสำเร็จของการบูรณาการการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน คือ ในปี 2563 เชียงคาน ได้รับการจัดอันดับ 100 แหล่งท่องเที่ยวยั่งยืนระดับโลก หรือ Sustainable Destinations TOP 100 โดย อพท. และหน่วยงานทุกภาคส่วน ได้ร่วมกันขับเคลื่อนการท่องเที่ยวของเชียงคานมาอย่างต่อเนื่อง และได้เตรียมความพร้อมเชียงคาน เพื่อเป้าหมายความยั่งยืนสู่มาตรฐานการท่องเที่ยว
อย่างยั่งยืนที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล Geen Destinations ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ภาคีเครือข่าย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ เทศบาลตำบลเชียงคาน และร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงดำเนินการกระบวนการเข้าสู่ระบบการ รับรองมาตรฐานอย่างยั่งยืน Green Destinations ได้แก่ 1) จัดประชุม Kickoff เพื่อสร้างการรับรู้ และสร้างการมีส่วนร่วม 2) จัดทำข้อมูลทรัพยากรการท่องเที่ยว (Inventory) เพื่อนำไปวิเคราะห์ จัดทำข้อมูลพื้นฐาน (Baseline) ตามกระบวนการเพื่อเข้าสู่ระบบการรับรองมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยว 3) จัดทำแผนปฏิบัติการ 4) อบรมบุคลากร และหน่วยงาน/ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในเรื่องมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และกระบวนการเข้าสู่ระบบการรับรอง และ 5) ประสานความร่วมมือกับหน่วยงาน และรวบรวมหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อเข้าสู่ กระบวนการรับรองมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน Green destinations
และเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2566 อพท.เลย ได้ร่วมกับเทศบาลตำบลเชียงคาน ส่งใบสมัครเชียงคาน (Submit/ เข้าสู่ระบบการรับรองมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในระดับนานาชาติกับ หน่วยงาน Green destinationsจนในที่สุดเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2567 อพท. ได้รับการแจ้งประกาศผลจากหน่วยงาน Green Destinations อย่างเป็นทางการว่า “เชียงคาน ได้รับการรับรองสถานะความยั่งยืน Green Destinations Award ในระดับ Siver” ซึ่งการได้รับรองมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวยั่งยืน Green Destinations Award ของเชียงคานนี้ ถือเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ในความสำเร็จของการยกระดับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานตามหลักการความยั่งยืนในระดับสากล ซึ่งได้รับคะแนนการประเมินโดยเฉลี่ยรวม 7.2 จากคะแนนเต็ม 10 หรือคิดเป็นร้อยละ 72 ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งแรกในอาเซี่ยนที่ได้รับการรับรองสถานะความยั่งยืน Destinations และเป็นแหล่งท่องเที่ยวลำดับที่ 5 ของทวีปเอเชีย ที่ได้เข้าร่วมการรับรองมาตรฐาน แหล่งท่องเที่ยวของ Green Destinations Foundation โดย อพท. ได้เข้าร่วมพิธีประกาศผลการรับรองมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวยั่งยืน GreenDestinations Award ของเชียงคาน ภายในงาน Internationale Tourismus Borse ประจำปี ค.ศ.2024 (ITB Bertlin 2024) เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2567 ณ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีในวันนี้ จึงถือเป็นวันที่สำคัญ ที่ อพท. จะส่งมอบธงสัญลักษณ์ Green Destinations SilverAward 2024 ให้กับชาวเชียงคาน โดยได้รับเกียรติจากคุณมาซารุ ซึ่งเป็นตัวแทนของ GreenDestinations ที่มาร่วมเป็นสักขีพยานในการส่งมอบธงครั้งนี้