ขอนแก่น (ชมคลิป) อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ชู “หมอลำ” เป็น ‘ซอฟพาวเวอร์’ สร้างเม็ดเงินกว่าหกพันล้านต่อปี

อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ลงพื้นที่ขับเคลื่อนนโยบาย “ซอฟ พาวเวอร์” ชู “การแสดงหมอลำ” เป็นจุดแข็งและซอฟ พาวเวอร์ ของจังหวัดขอนแก่น ที่สร้างเม็ดเงินให้กับประเทศกว่า 6,000 ล้านบาทต่อปี โดยงานเทศการไหมนานาชาติฯ ประจำปี 2566 เตรียมเปิดเวทีให้หมอลำ 20 จังหวัดภาคอีสาน ได้ร่วมโชว์ศักยภาพ

         เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 15 กันยายน 2566 ที่ห้องประชุมแก่นเมือง ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น สภาวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น ได้จัดการประชุมคณะกรรมสภาวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น ครั้งที่ 4/2566 และ กิจกรรมอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม พบเครือข่ายสภาวัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เครือข่ายศิลปินหมอลำพื้นบ้าน และกลุ่มเครือข่ายผ้าไหมชนบท โดยมีนายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานการประชุม พร้อมกับมอบนโยบายในขับเคลื่อนงานของกระทรวงวัฒนธรรม ให้เกิดศักยภาพในการพัฒนาไปสู่การเป็น Sofe Power ใน 5 ด้าน ซึ่งการประชุมในครั้งนี้มีศิลปินแห่งชาติ หมอลำพื้นบ้าน และผู้ที่อยู่ในแวดวงศิลปวัฒนธรรมอีสานเข้าร่วมจำนวนมาก เช่น ดร.ฉวีวรรณ พันธุ นายฉลาด ส่งเสริม หรือ พ่อ ป.ฉลาดน้อย พันธุ และ ดร.ราตรีศรีวิไล บงสิทธิพร ศิลปินแห่งชาติ สาขา ศิลปะการแสดงหมอลำ

         นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า ตามที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพร้อมด้วยคณะรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา โดยหนึ่งในนโยบายที่เกี่ยวข้องกับศิลปวัฒนธรรม นายกฯ ได้พูดถึงเรื่องการเป็น Sofe Power ที่จะเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการสร้างเม็ดเงินเข้าสู้ประเทศไทย ซึ่งใน Sofe Power ที่กระทรวงวัฒนธรรมได้ดำเนินการนั้น มีทั้งหมด 5 ด้าน หรือที่เรียกว่า 5F ได้แก่ อาหาร (Food) ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ (Film) การออกแบบแฟชั่นไทย (Fashion) ศิลปะการป้องกันตัวแบบไทย (Fighting) และ เทศกาลประเพณีไทย (Festival)ซึ่งทั้ง 5 ด้าน เป็นสิ่งประเทศไทยมีศักยภาพ โดยจังหวัดขอนแก่น เป็นจังหวัดที่มีความสำคัญและมีศักยภาพตรงตาม Sofe Power ที่กระทรวงวัฒนธรรมได้ดำเนินการ 5 ด้าน โดยเฉพาะในด้านเทศกาลประเพณีไทย (Festival) ที่กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ได้ลงพื้นที่มีติดตามคือ หมอลำ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์และอัตลักษณ์ที่สำคัญที่สุดอีกอย่างหนึ่งของจังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นที่ประจักษ์มาอย่างช้านานในประเทศไทย โดยศักยภาพของหมอลำนั้น มีคุณค่าทั้งในเชิงสังคม และมูลค่าทางเศรษฐกิจ และนับเป็นโอกาสสำคัญที่ทางจังหวัดขอนแก่น ได้เปิดโอกาสให้กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม เข้ามาร่วมบูรณาการในการจัดงานเทศกาลไหมนานาชาติ ฯ ประจำปี 2566 ซึ่งทางสภาวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น ได้มีการเสนอให้มีการนำหมอลำจาก 20 จังหวัดภาคอีสาน มาร่วมจัดแสดงภายในงาน เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนทางสังคมและเศรษฐกิจ ซึ่งการแสดงหมอลำนั้น ในช่วงก่อนเกิดวิกฤตโควิด-19 นับเป็นศิลปวัฒนธรรมที่สร้างเม็ดเงินให้กับประเทศได้กว่า 6,000 ล้านบาทต่อปี